កន្ទួតព្រៃ សព្វគុណជាឱសថនិងអត្ថប្រយោជន៍របស់កន្ទួតព្រៃ-มะขามป้อม สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามป้อม - Kamsan Khmer​ 2017

Kamsan Khmer​ 2017

ចែករំលែកព័ត៌មាន​ ចំណេះដឹង កម្សាន្ត Share News, Knowledge, ​​Entertainments.

🙏🌎🌍🌏សួស្ដី ! នេះជាវេបសាយ ​កម្សាន្តខ្មែរ ២០១៧ ចែករំលែកព័ត៌មាន សេដ្ឋកិច្ច នយោបាយ សង្គម សាសនា ជាតិ អន្តរជាតិ​ ចំណេះដឹង និង កម្សាន្តរីករាយ   Share News, Knowledge, ​​Entertainments. 🌎🌍🌏🙏
កន្ទួតព្រៃ សព្វគុណជាឱសថនិងអត្ថប្រយោជន៍របស់កន្ទួតព្រៃ-มะขามป้อม สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามป้อม

កន្ទួតព្រៃ សព្វគុណជាឱសថនិងអត្ថប្រយោជន៍របស់កន្ទួតព្រៃ-มะขามป้อม สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามป้อม

Share This

*កន្ទួតព្រៃ សព្វគុណជាឱសថនិងអត្ថប្រយោជន៍របស់កន្ទួតព្រៃ

ឈ្មោះខ្មែរ៖ កន្ទួតព្រៃ
ឈ្មោះវិទ្យាសាស្រ្ត៖  Phyllanthus emblica Linn, Indian gooseberry
អំបូរ៖ Euphorbiaceae

*លក្ខណៈរុក្ខជាតិ៖ ជារុក្ខជាតិដើមតូច មានកំពស់២– ៨ ស.ម ។ ស្លឹកទោលដុះឆ្លាស់ទងរាងមូលទ្រវែង ទទឹង ០.២៥– ០.៥០ស.ម បណ្តោយ០.៨– ១.២ស.ម។ កញ្ចុំផ្កាជាចង្កោមញឹកដែលចង្កោមកេសរ ឈ្មោលនៅផ្នែកខាងក្រោម និងក សរញីនៅផ្នែកខាងលើ ។ រសជូរនៃផ្លែ សម្បូរទៅដោយ ជីវជាតិ សេ(C) គេអាចបរិភោគស្រស់ៗក៏បាន ឬជាគ្រឿងសម្លរក៏បាន។ បរិភោគទាំងស្រស់ វាមានរស់ផ្អែមជាប់មាត់។ សំបកដើម, គ្រាប់, ស្លឹក និងផ្លែផ្តល់ឱយជាលក្ខពណ៌លឿង។

*កន្លែងដាំដុះ៖ រុក្ខជាតិនេះមានដុះតាមព្រៃរបោះនៃប្រទេសកម្ពុជា។ គេប្រទះឃើញមានជាច្រើននៅខេត្តកំពង់ស្ពឹ និងខេត្តភាគអាគ្នេយិ៍នៃប្រទេសកម្ពុជា នៅភ្នំតូចៗ ជាពិសេសក្នុងខេត្តមណ្ឌលគិរី។
ផ្នែកប្រើប្រាស់៖ ផ្លែក្រៀម, សាច់គ្រាប់, គ្រាប់, ស្លឹក, ឬស, សំបកដើមនិងផ្កា។ ផ្លែទុំជាទូទៅគេប្រើស្រស់ ស្ងួតួក៏គេប្រើបានដែរ។

*សារធាតុរួមផ្សំ៖ Polyphenol មានដូចជា gallic acid,organic acids,cytokinins,chebulagic acids,phyllenblin emblicol , chebulagic acid, emblican A និង B quercetin, organic acids, cytokinins,fatty acids, arachicic acid និង behenic acid។

*ប្រើជាសថ៖ កន្ទួតព្រៃស្រស់ ត្រូវបានប្រើក្នុងករណី ហើមរលាកលើថ្ងាស (កន្លែងប្លោកនោម) សួតនិង ភ្នែក។ ម្សៅផ្លែកន្ទួតព្រៃលាយទឹកផុកៗ ប៉ាតលើថ្ងាស(ប្លោកនោម)ព្យាបាលនោមក្រហាយ ក្នុងករណីនោមទាស់ និង ប៉ាតលើថ្ងាស (ក្បាល)ក្នុងករណីប្រកាំង (ឈឺក្បាល,ឈឺ ១ចំហៀងក្បាល) ផ្លែមានសកម្មភាពកាត់ស្លែស, បង្កើនទឹកនោម, បំបាត់រាក, បន្ថយកំដៅ និងប្រឆាំងការខ្វះជីវជាតិសេ(C) ជួយបំប៉នសុខភាពស្បែក កាត់បន្ថយការកើតជ្រីវជ្រួញ។ ផ្លែក៏ជាថ្នាំដើរខ្យល់ និងធ្វើឱយអាហារងាយរលាយ។


អត្ថបទ ៖ មជ្ឈមណ្ឌលជាតិស្រាវជ្រាវវេជ្ជសាស្រ្តបូរាណ
អត្ថបទទាក់ទង ៖ កន្ទួតព្រៃ ជាអាយុវឌ្ឍនភេសជ្ជ 
------------------------------------------------------

**มะขามป้อม สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามป้อม 47 ข้อ

มะขามป้อม ชื่อสามัญ Indian gooseberry

มะขามป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

มะขามป้อมเป็นสมุนไพรที่ชาวอินเดียใช้มาหลายพันปีแล้ว เพราะเป็นยาอายุวัฒนะซึ่งชาวอินเดียเรียกสมุนไพรหรือผลไม้ชนิดนี้ว่า Amalaka แปลว่า “พยาบาล” สะท้อนให้เห็นว่าสรรพคุณของมะขามป้อมนั้นมีมากมายเหลือเกิน และเป็นผลไม้ประจำจังหวัดสระแก้วอีกด้วย

มะขามป้อม จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง เพราะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีสูงมาก โดยประโยชน์มะขามป้อมหรือสรรพคุณมะขามป้อมนั้นมีมากมาย และยังใช้เป็นยารักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เพราะมะข้ามป้อมนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร เป็นต้น และคุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินซีในน้ำคั้นจากผลของมะข้ามป้อมนั้นมีมากกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ซึ่งมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ 1 ผล จะมีปริมาณวิตามินซี เท่ากับส้ม 1-2 ผลเลยทีเดียว

เนื่องจากมะขามป้อมมีรสเปรี้ยว รสฝาด อาจจะรับประทานยากสักหน่อยสำหรับบางคน การรับประทานมะขามป้อมนั้นควรปรุงรสให้อร่อยด้วยการนำมะขามป้อมมาผ่าเอาเมล็ดออกให้เหลือแต่เนื้อ แล้วนำมาใส่ พริก เกลือ น้ำตาล นำมาตำพอแหลกก็ใช้ได้ แต่ทั้งนี้ควรรับประทานก่อนนอนหรือช่วงตื่นนอนใหม่ ๆ หรือขณะที่ท้องว่าง สำหรับวิธีลดความฝาดของมะขามป้อมนั้นทำได้โดยการนำไปแช่น้ำเกลือ ด้วยการนำมะขามป้อมมาล้างให้สะอาดและลวกด้วยน้ำร้อน แล้วนำไปแช่ในน้ำเกลือที่เค็มจัด ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน รสฝาดก็จะหายไป

*ประโยชน์ของมะข้ามป้อม

1. นิยมนำมารับประทานเพื่อให้สดชื่น ชุ่มคอ แก้กระหาย
2. วิตามินซีในมะขามป้อมสามารถดูดซึมได้เร็วกว่าวิตามินซีชนิดเม็ดเป็นอย่างมาก
3. ใช้บำรุงผิวหน้าให้ขาวสดใส รักษาฝ้า ด้วยการนำมะขามป้อมมาฝนกับฝาละมีแล้วนำน้ำที่ได้มาทาบริเวณรอยฝ้า
4. ช่วยบำรุงสุขภาพผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย
5. ช่วยบำรุงและรักษาเส้นผมให้มีสุขภาพแข็งแรง ผมนุ่มลื่น ป้องกันผมหงอก ด้วยการทอดมะขามป้อมกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมาหมักผม
6. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
7. ช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
8. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
9. เป็นผลไม้ที่ช่วงบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยช่วยบำรุงอวัยวะแทบจะทุกส่วนของร่างกาย
10. ช่วยบำรุงโลหิตได้เป็นอย่างดี
11. มะขามป้อมมีเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้อีกด้วย โดยใช้ผลสดประมาณ 30 ผล นำมาคั้นเอาน้ำหรือนำมาต้มทั้งผลแล้วดื่มแทนน้ำ ทั้งนี้ควรเลือกมะขามป้อมที่แก่จัด ผิวออกเหลืองจะได้ผลดีที่สุดในการรักษาอาการไอและหวัด
12. ใบสดมะขามป้อมนำมาต้มน้ำอาบ ลดอาการไข้
13. มะขามป้อมมีฤทธิ์ในการต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง
14. มะขามป้อมเป็นตัวช่วยในการลดคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาล ลดไขมันในเลือดได้ด้วย
15. ช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
16. ใช้แก้อาการปวดฟันได้ ด้วยการใช้ปมกิ่งก้านต้มกับน้ำแล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ
17. รสเปรี้ยวของมะขามป้อมช่วยในการละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้เป็นอย่างดี
18. รากแห้งมะขามป้อม นำมาต้มดื่มแก้อาการท้องเสีย ร้อนใน ความดันโลหิต
19. ช่วยในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
20. ช่วยลดอาการแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย
21. มะขามป้อมเป็นส่วนประกอบใช้สำหรับการรักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัณโรค รักษาภาวะของโรคเอดส์
22. มะขามป้อมแห้งช่วยรักษาโรคบิด ใช้ล้างตา รักษาตาแดง ตาอักเสบได้
23. มะขามป้อมแห้ง เมื่อนำมาผสมน้ำสนิมเหล็กจะช่วยแก้โรคดีซ่านได้
24. มะขามป้อมช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง
25. ช่วยรักษาโรคคอตีบ
26. ช่วยบำรุงปอด หลอดลม หัวใจ และกระเพาะ
27. เมล็ดมะขามป้อมเมื่อนำมาตำเป็นผงชงกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยรักษาโรคหอบ หืด หลอดลมอักเสบ อาการคลื่นไส้อาเจียนได้
28. ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
29. ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องผูก
30. ช่วยยับยั้งความเป็นพิษของตับและไตได้
31. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย และยาถ่ายพยาธิ
32. ยางจากผลใช้หยอดตาแก้ตาอักเสบ กินเพื่อช่วยในการย่อยอาหารและขับปัสสาวะ
33. เปลือกมะขามป้อมสามารถนำมาต้มดื่มแก้โรคบิด
34. ช่วยในการปรับประจำเดือนให้มาเป็นปกติ
35. ช่วยรักษาอาการไข้ทับระดูได้
36. ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ด้วยการใช้เปลือกต้นมะขามป้อมมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำแล้วชะโลมให้ทั่ว
37. ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราได้
38. รากสดมะขามป้อมช่วยในการแก้พิษจากการถูกตะขาบกัด
39. เปลือกของลำต้นมะขามป้อมใช้รักษาบาดแผล แก้ฟกช้ำได้ ด้วยการนำเปลือกแห้งมาบดเป็นผงแล้วนำมาโรยบริเวณบาดแผล
40. ต้นและเปลือกของมะขามป้อมใช้เป็นยาฝาดสมาน
41. เมล็ดของมะขามป้อม เมื่อนำมาเผาไฟจนเป็นเถ้าแล้วนำมาผสมกับน้ำพืช นำมาทาแก้ตุ่มคันได้
42. มะขามป้อมมีฤทธิ์ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน และช่วยลดไขมันในเลือด ต้านมะเร็งและไวรัส
43. ลำต้นมะขามป้อมนั้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ทนทาน จึงเหมาะแก่การใช้ทำเครื่องประดับ เสาเข็ม หรือนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
44. ใบแห้ง นำมาย้อมเส้นใย ไหม ขนสัตว์ จะให้สีน้ำตาลเหลือง
45. ดอก ใช้เข้าเครื่องยา มีกลิ่นหอม ใช้เป็นยาเย็นและยาระบาย
46. นำมาใช้ทำเป็นยาสระผม ช่วยให้ผมดกดำและป้องกันผมหงอกก่อนวัยอีกด้วย
47. มะขามป้อมเป็ลผลไม้ที่นำมาแปรรูปได้หลากหลายมาก เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยาแก้ไอ ยาสระผม น้ำมะขามป้อม มะขามป้อมแช่อิ่ม

*วิธีทำมะขามป้อมแช่อิ่ม

1. วัตถุดิบที่ต้องเตรียม มะขามป้อมสด 1 กิโลกรัม / เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ / น้ำตาลใส 4 ช้อนโต๊ะ / น้ำปูนใส
2. ล้างมะขามป้อมให้สะอาด แล้วใช้มีดฝานตามยาวของผลให้ทั่ว แต่ไม่ต้องให้ถึงเมล็ด
3. นำเกลือป่นมาใส่หม้อ ใส่น้ำพอประมาณ แล้วต้มจนเดือด
4. เสร็จแล้วนำมาทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมะขามป้อมแช่ในน้ำเกลือทิ้งไว้ 1 คืน
5. รุ่งเช้าให้นำมะขามป้อมมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่ในน้ำปูนใสประมาณ 3 ชั่วโมง
6. น้ำปูนใสได้จากการแช่ปูนแดง แล้วทิ้งไว้ให้ปูนนอนก้น ตักเอาแต่น้ำใส ๆ มาแช่มะขามป้อม
7. เมื่อแช่จนครบกำหนด นำมาล้างน้ำอีกครั้งแล้วใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ ต้มน้ำตาลทรายและใส่น้ำ ต้มให้น้ำเดือด แล้วกรองให้สะอาด ทิ้งไว้ให้เย็น
8. หลังจากนั้นนำมะขามป้อมมาแช่ในน้ำเชื่อม ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน
9. วันที่ 2 นำมะขามป้อมขึ้นจากน้ำเชื่อม เติมน้ำตาลลงในเชื่อมแล้วต้มให้น้ำตาลละลาย
10. เมื่อน้ำเชื่อมเย็นแล้ว นำมะขามป้อมแช่อีกรอบ และทำเช่นนี้จนครบ 2 ครั้ง

11. วันที่ 5 นำมะขามป้อมออก เอาแต่น้ำเชื่อมไปต้มให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น แช่มะขามป้อมใส่น้ำเชื่อมอีกจนกระทั่งน้ำเชื่อมซึมเข้าเนื้อมะขามป้อมจนเห็นเป็นเนื้อใส ๆ เป็นอันเสร็จรับประทานได้เลย







Credit : medthai

No comments:

Post a Comment